ufabet

Invoice Factoring หนึ่งแหล่งเงินทุนที่ SME ควรรู้

อย่างที่ผู้ประกอบการทุกคนทราบดี “เงินทุน” เป็นปัจจัยสำคัญของการประกอบธุรกิจ

เป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงการดำเนินงานของธุรกิจในทุกๆ วัน การขาดหรือการติดขัดของเงินทุนจะทำให้กิจการขาดสภาพคล่อง ซึ่งอาจส่งผลไปถึง การดำเนินงานที่ติดขัดมีปัญหา สร้างความเสียหายให้กับชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือ และอาจทำให้เกิดค่าใช้จ่ายไม่จำเป็นที่เพิ่มขึ้นอันเป็นผลของความเสียหายต่างๆ จากการขาดสภาพคล่อง

การจัดหาแหล่งเงินทุนของกิจการก็สามารถทำได้หลากหลายวิธี แต่การที่กิจการจะได้รับอนุมัติเงินทุนจากผู้ให้บริการจัดหาแหล่งเงินทุน หลายๆ ครั้ง ก็มีเงื่อนไขที่ยุ่งยาก ซับซ้อน และไม่ตอบโจทย์กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจไซส์กลางไปจนถึงไซส์เล็ก หรือกลุ่มธุรกิจอย่าง SME นั่นเอง ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย และเป็นกลุ่มที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างมหาศาล ทั้งในส่วนของ GDP รวม ตลอดจนการจ้างงาน

Invoice Factoring ถือเป็นหนึ่งในวิธีการจัดหาเงินทุนของกิจการหรือที่เรียกว่า Assets Based Financing เป็นการจัดหาแหล่งเงินทุนที่ตอบโจทย์ SME ที่ประสบปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยเฉพาะกิจการที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันเช่น รถ ที่ดิน อาคาร และอื่นๆ เป็นต้น มากไปกว่านั้น Invoice หรือใบแจ้งหนี้ ยังถือเป็นเอกสารทางธุรกิจที่สำคัญที่เกือบจะทุกธุรกิจจะต้องมี และถือเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของกิจการอีกด้วย การจัดหาแหล่งเงินทุนจากการใช้ประโยชน์จากใบแจ้งหนี้นั้น จึงถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ผู้ประกอบการควรนำไปศึกษาและพิจารณานั่นเอง

Invoice Factoring หรือ แฟคตอริ่ง คือการการขายลูกหนี้การค้า (Account Receivable) ของกิจการหรือใบแจ้งหนี้ (Invoice) ให้แก่ผู้ให้บริการที่รับซื้อบัญชีลูกหนี้การค้า โดยการขายลูกหนี้การค้าก็คือการขายหรือการโอนสิทธิลูกหนี้การค้าที่เกิดจากการขายสินค้าและบริการที่เป็นเงินเชื่อไปให้กับบริษัทที่รับซื้อใบแจ้งหนี้นั่นเอง

ufabet

ในการทำ Factoring จะมีผู้เกี่ยวข้อง 3 ส่วนได้แก่

  • บริษัทผู้รับซื้อลูกหนี้การค้า หรือผู้ให้บริการในการดำเนินการการรับซื้อลูกหนี้การค้า เรียกว่า Factoring Company
  • บริษัทผู้ขาย (Client) หรือบริษัทที่ขายสินค้าหรือบริการอันเป็นเงินเชื่อ และขายลูกหนี้ที่เกิดจากเงินเชื่อนั้นแก่ผู้รับซื้อในข้อ 1
  • ลูกค้าหรือบริษัทผู้ซื้อสินค้าหรือบริการเงินเชื่อ (บริษัทลูกหนี้)

การทำ Factoring จะแบ่งออกเป็น 2 วิธีหลักๆ โดยจะแตกต่างกันตรงความรับผิดชอบในด้านการบริหารลูกหนี้การค้าและระดับความเสี่ยงที่ผู้เกี่ยวข้องจะต้องรับไปนั่นเอง ประกอบด้วย

ufabet

  • การทำ Factoring แบบ เปิดเผยหรือ Disclosed Factoring เป็นการตกลงซื้อขายหรือการโอนสิทธิลูกหนี้การค้าโดยมีการแจ้งให้ลูกหนี้การค้าทราบถึงการขายและโอนสิทธิดังกล่าว
  • การทำ Factoring แบบไม่ได้แจ้งให้บริษัทลูกหนี้ทราบเรียกว่า Confidential Factoring หรือ Non-Notification

นอกจากนี้ การทำ Factoring ยังสามารถทำได้กับ Invoice หรือใบแจ้งหนี้กับคู่ค้าหรือ ลูกค้าทั้งในประเทศ (Domestics Foctoring)และต่างประเทศหรือ International Factoring ซึ่งมีความเหมาะสมกับบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการส่งออก (Export Company) แต่จะมีความยุ่งยากและซับซ้อนกว่าการทำ Factoring ภายในประเทศนั่นเอง


ติดตามเนื้อหาดีๆ น่าอ่านได้ที่ conleyschurch.com อัพเดตทุกสัปดาห์

Releated